บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก เมษายน, 2019

สะพานเจริญศรี ๓๔

รูปภาพ
“สะพานเจริญศรี” อันเป็นสะพานข้ามคลองคูเมืองเดิม บริเวณหน้าวัดบุรณศิริมาตยาราม เพื่อเชื่อมกับพระนครชั้นในบริเวณถนนราชินี ด้านหลังกระทรวงยุติธรรมเดิม (ปัจจุบันคือ ศาลฎีกา) แม้ในวันนี้อาจไม่ใช่เส้นทางสายหลักที่ชาวพระนครใช้ในการสัญจรไปมาอย่างแต่ก่อน อันเนื่องมาจากความเปลี่ยนแปลงของการใช้ประโยชน์พื้นที่โดยรอบ แต่อาจกล่าวได้ว่า ครั้งหนึ่งสะพานแห่งนี้คือสัญลักษณ์แห่งพัฒนาการและความเจริญของกรุงเทพมหานคร และหากจะกล่าวถึงบทบาทของสถาบันพระมหากษัตริย์ที่มีต่อพัฒนาการของความเจริญของพระมหานครรัตนโกสินทร์แล้ว ก็นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ได้พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ในการก่อสร้างสะพาน เนื่องในงานพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ๓๔ พรรษา เมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๖ โดยที่ผู้เขียนต้องกล่าวเน้นว่า “ใช้พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ในการก่อสร้าง” มิใช่จะเขียนเพื่อยกยอพระเกียรติคุณเท่านั้น แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่า ในช่วงเวลานั้นกิจการทั้งปวงอันเกี่ยวกับพระนคร เป็นอำนาจหน้าที่ของ “กระทรวงนครบาล” ซึ่งมีงบประมาณแผ่นดินอยู่อย่างจำกัด ไม่สามารถทำให้การพัฒนากรุงเทพมหานครเป็นไปอย่างทั่

ทำเนียบรายพระนามและรายนามฝ่ายหน้าที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า

“จึงให้สร้างตราเครื่องราชอิศริยยศ สำหรับสำแดงอิศริยยศแลความชอบ แห่งท่านผู้ที่มียศบันดาศักดิ์สืบวงษ์ตระกูลมา เพื่อให้รฦกถึงท่านผู้ใหญ่ที่ได้รักษาแผ่นดินบังคับการมาแต่ก่อน ตลอดจนถึงท่านผู้ที่ได้ทำนุบำรุงแผ่นดินแลรักษาการปัตยุบันนี้ จะได้เห็นว่าสืบเนื่องตระกูลวงษ์ท่านไปสิ้นกาลนาน เปนเกียรติยศแก่ท่านผู้มีความชอบทุกๆ ตระกูล เนื่องไปมิให้เสื่อมทราม แล้วจงตั้งจิตรพร้อมใจกันช่วยทำนุบำรุงแผ่นดิน แลช่วยรักษาวงษ์ตระกูลซึ่งกันแลกันสืบต่อไป ให้ปราศจากอคติสี่ประการ ประกอบสามัคคีสโฒสรเปนนิรัตรกาล ฉลองพระเดชพระคุณแด่ปฐมบรมกษัตริย์มาให้มีความศุขศิริสวัสดิ์อายุวัฒนยืนนานจงทุกท่านทุกนายเทอญ...” (ความบางตอนจากพระราชบัญญัติเครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับตระกูลจุลจอมเกล้า รัตนโกสินทร์ศก ๑๑๒ (ฝ่ายน่า)) ลำดับ พระนาม / นาม วันที่ได้รับ พระราชทาน หมายเหตุ ชั้นปฐมจุลจอมเกล้า สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๔๓๑ พร้อมสายสร้อยทองคำลงยา พระยาภาสกรวงษ ที่เกษตราธิบดี ๓๐ พฤศจิกายน