บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก 2018

ประวัติ อำมาตย์เอก พระยาพายัพพิริยกิจ (เป้า จารุเสถียร)

รูปภาพ
อำมาตย์เอก พระยาพายัพพิริยกิจ (เป้า จารุเสถียร) กระทรวงมหาดไทย           อำมาตย์เอก พระยาพายัพพิริยกิจ (เป้า จารุเสถียร) ต.ม., จ.ช., ว.ป.ร.๔, ร.จ.พ. บุตรขุนศรีพลภักดิ์ เกิดเมื่อวันที่ ๘ พฤษภาคม ๒๔๒๔ ประวัติส่วนตัวของท่านในวัยเยาว์จะเป็นอย่างไรนั้น ผู้เขียนยังค้นไม่พบหลักฐาน แต่ทางด้านการศึกษานั้น ท่านได้เข้าเป็นนักเรียนของโรงเรียนมหาดเล็กที่ตึกยาว ข้างประตูพิมานชัยศรีทางฝ่ายตะวันตก ในราวปี พ.ศ. ๒๔๔๒ ดังปรากฏในพระนิพนธ์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เรื่อง โรงเรียนมหาเล็กหลวง ความว่า “...เมื่อแรกตั้งโรงเรียนมหาดเล็ก กำหนดจะรับนักเรียนเพียง ๕๐ คน พอเปิดโรงเรียนแล้วไม่ช้าก็มีคนสมัครเป็นนักเรียนพอต้องการ ส่วนการฝึกสอนในปีแรกสอนแต่ภาคที่หนึ่งคือวิชาเสมียน ให้ครูหัดเสมียนในกระทรวงมหาดไทยมาเป็นผู้สอน ขึ้นปีที่สองมีนักเรียนสอบความรู้สำเร็จ ๗ คน พระยาวิสุทธิสุริยศักดิ์ นำถวายตัวเป็นมหาดเล็กหลวงเป็นครั้งแรก คือ:- ๑. นายขวัญ ณ ป้อมเพชร            ภายหลังได้เป็น พระยาจงรักษ์นรสีห์ ๒. นายเลื่อน ณ ป้อมเพชร           ภายหลังได้เป็น พระยาชวกิจบรรหาร ๓. นายสว

ตุลาคม เดือนแห่งความวิปโยค

รูปภาพ
ก่อน “เดือนตุลาคม”   จะผ่านพ้นไป...  รอยใบลานขอย้อนรำลึกเดือนแห่งความวิปโยค หรือเดือนแห่งการสูญเสียของพระราชวงศ์จักรี โดยนอกจากจะเป็นเดือนที่พระมหากษัตริย์เสด็จสวรรคตถึง ๓ รัชกาล แล้ว ยังเป็นเดือนแห่งสวรรคตและสิ้นพระชนม์เจ้านายหลายพระองค์ด้วยกัน ตามที่รวบรวมไว้ในเบื้องต้นปรากฏพระนาม ๑๙ พระองค์ ดังนี้ ๑ ตุลาคม ๒๔๑๑ เป็นวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ๑ ตุลาคม ๒๕๓๔ เป็นวันสิ้นพระชนม์ของพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพร พระโอรสในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงลพบุรีราเมศวร์   ๑๐ ตุลาคม ๒๓๙๕ เป็นวันสวรรคตของสมเด็จพระนางเจ้าโสมนัสวัฒนาวดี บรมอัครราชเทวี ในรัชกาลที่ ๔ พระชนนีในสมเด็จเจ้าฟ้าชายโสมนัส ๑๐ ตุลาคม ๒๔๗๕ เป็นวันสิ้นพระชนม์ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นวิวิธวรรณปรีชา   ๑๐ ตุลาคม ๒๕๒๘ เป็นวันสิ้นพระชนม์ของพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี ในรัชกาลที่ ๖ พระชนนีในสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ราชสุดาสิริโสภพัณณวดี     ๑๑ ตุลาคม ๒๔๗๔ เป็นวันสิ้นพระชนม์ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ๑๑ ตุลาคม ๒๔๓๒ เป็นวันสิ้นพ

ลำดับพระราชอิสริยยศของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก

รูปภาพ
สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับสมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี (ต่อมาได้รับการเฉลิมพระอิสริยยศเป็น “สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า) เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ ๑ มกราคม ๒๔๓๔ (๒๔๓๕ ตามปฏิทินใหม่) ณ พระตำหนักในพระบรมมหาราชวัง มีพระสกุลยศเมื่อแรกพระราชสมภพเป็น “สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้า” ชาววังออกพระนามอย่างลำลองว่า "ทูลหม่อมแดง"  จากนั้นได้รับพระราชทานพระนามและเฉลิมราชพระอิสริยยศมาโดยลำดับ สรุปได้ดังนี้ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๔๓๔ (๒๔๓๕ ตามปฏิทินใหม่) ในการพระราชพิธีสมโภชเดือน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระนามสมมติว่า “สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช นเรศวรมหาราชาธิบดินทร์ จุฬาลงกรณินทรวรางกูร สมบูรณ์เบญจพรศิริสวัสดิ์ ขัตติยวโรภโตสุชาติ คุณสังกาศเกียรติประกฤษฐ ลักษณะวิจิตรพิสิฐบุรุษชนุตมรัตน์พัฒนศักดิ์ อรรควรราชกุมาร” ๑๐ มกราคม ๒๔๔๖ (๒๔๔๗ ตามปฏิทินใหม่) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ

บันทึกเหตุการณ์วันที่ราชทูตเข้าเฝ้าถวายพระราชสาสน์แด่สมเด็จพระนารายณ์มหาราช

รูปภาพ
จดหมายเหตุรายวันของบาทหลวง เดอ ซัวซีย์ ผู้ช่วยมองสิเออร์ เลอ เชอวาเลีย เดอ โชมอง ราชทูตของพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ซึ่งเข้ามาเจริญทางพระราชไมตรีกับกรุงศรีอยุธยา เมื่อ พ.ศ. ๒๒๒๘ ได้บันทึกเหตุการณ์วันที่เข้าเฝ้าถวายพระราชสาสน์แด่สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ณ พระที่นั่งสรรเพชญปราสาท ในพระราชวังหลวงกรุงศรีอยุธยา เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๘ ตุลาคม พ.ศ.๒๒๒๘ “...ท่านราชทูตซึ่งในขณะนั้นยังสวมหมวกอยู่ในท่าเดิมก็ลุกขึ้นยืน แล้วก็ถอดหมวกออก หันหน้ามาทางข้าพเจ้า ถวายคำนับพระราชสาสน์ แล้วจึงเชิญพระราชสาสน์ไปจากข้าพเจ้า เดิรตรงไปยังพระโธรน ข้าพเจ้าจำต้องชี้แจงเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในขณะนี้ให้ท่านฟังบ้าง มองสิเออร์ คอนสตันซ์ พยายามจัดการทุกสิ่งทุกอย่างเป็นทางช่วยเหลือมิให้เสื่อมเสียขนบธรรมเนียมประเพณีฝ่ายบุรพะทิศประเทศ คือ จะไม่ยอมให้พระเจ้ากรุงสยามรับพระราชสาสน์ด้วยพระองค์เอง   มองสิเออร์ คอนสตันซ์ เคยให้ความเห็นว่า ควรจะวางพานพระราชสาสน์ลงบนปลายไม้ปิดทอง แล้วชูขึ้นถวายก็จะสูงถึงพระโธรนที่ประทับได้โดยสะดวก อีกประการหนึ่งท่านราชทูตก็ได้รับคำบอกเล่ามาแล้วว่า พระโธรนเลื่อนลงมาให้ต่ำก็ได้ หรือมิฉะนั้น

บันทึก เรื่อง นายกรัฐมนตรีมาเฝ้าสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนริศฯ วันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ.๒๔๗๗

รูปภาพ
บันทึก เรื่อง นายกรัฐมนตรีมาเฝ้าสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนริศฯ วันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ.๒๔๗๗ (สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ผู้สำเร็จราชแทนพระองค์ในขณะนั้น  : ที่มา  https://commons.wikimedia.org/wiki/ ) ) วันนี้ เวลา ๑๗.๑๐ น. นายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา นายกรัฐมนตรี กับนายนาวาตรี หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ เลขาธิการคณะรัฐมนตรี และหม่อมเจ้าวรรณไวทยากร วรวรรณ ที่ปรึกษาสำนักนายกรัฐมนตรี ได้มาเฝ้าสมเด็จเจ้าฟ้ากกรมพระนริศรานุวัดติวงศ์ (พระยศในขณะนั้น ภายหลังได้รับโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาขึ้นเป็น “กรมพระยา”) ณ พระที่นั่งราชกรัณยสภา (พระที่นั่งกรัณยสภา ในพระบรมมหาราชวัง : ที่มา http://radio.rmutp.ac.th/ ) นายกรัฐมนตรี กราบทูลว่า ได้รับลายพระหัตถ์ที่พระราชทานไปว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้มีพระราชหัตถเลขาทรงสละราชสมบัติ พระราชทานแก่เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศวันนี้ และมีพระบรมราชโองการดำรัสสั่งว่า ตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เป็นอันพับไป ในวันที่ทรงลงพระปรมาภิไธยในพระราชหัตถเลขาทรงสละราชสมบัติ จะทรงลงพระนามในเอกสารอันใดไม่ได้อีกต่อไป ฉะนั้น บรรดาหนังสือราชการในหน้าที่ผู้สำเร็