บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก 2017

คำชี้แจงแลตักเตือนผู้ที่จะมาในงานพระบรมศพ

รูปภาพ
(อัญเชิญพระโกศพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นประดิษฐานบนพระยานมาศสามลำคาน  : ที่มา https://www.matichon.co.th/news/340081) เจ้าพระยายมราช เสนาบดีกระทรวงนครบาล ขอประกาศให้ชนทั้งหลายทราบทั่วกัน  ด้วยตามประกาศลงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ร.ศ.๑๒๙ แจ้งกำหนดการพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง แลพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประชาชนทั้งปวง มีโอกาศที่จะบำเพ็ญการกุศลอย่างหนึ่งอย่างใดสนองพระเดชพระคุณได้ตามความปราถนา ความแจ้งอยู่ในประกาศนั้นแล้ว จึงขอชี้แจงตักเตือนมาให้ทราบว่า ถ้าผู้ใดมีความปรารถนาจะเข้าไปในพระบรมมหาราชวังในวันงานพระบรมศพ ณ วันที่ ๑๓ ที่ ๑๔ ที่ ๑๕  มีนาคม ก็ดี หรือมาคอยเฝ้าถวายบังคมพระบรมศพตามระยะทางในวันเชิญพระบรมศพจากพระบรมมหาราชวังไปสู่พระเมรุมาศ ณ ท้องสนามหลวง คือ วันที่ ๑๖ มีนาคมก็ดี หรือในที่ประดิษฐานพระบรมอัษฐิ คือ วันที่ ๑๗_๑๘_๑๙_๒๐ มีนาคม ก็ดีควรแต่งตัวให้เรียบร้อยด้วยเครื่องขาว คือ นุ่งผ้าขาวสวมเสื้อขาวทุกคน ถ้าเปนชาติที่มีธรรมเนียมแต่งกายไว้ทุกข์อย่างอื่น ก็ควรแต่งตามธรรมดานิยมในลัทธิแห่งตน (พระเมรุมาศพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเก

“พระที่นั่งสีตลาภิรมย์” วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม

รูปภาพ
เดิมตั้งอยู่ในพระบรมมหาราชวัง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระที่นั่งเย็น เป็นตึกจีนสูง ๓ ชั้น สำหรับใช้เป็นที่ประทับบริเวณ   “ พระตำหนักตึก ”   ในเขตพระราชฐานชั้นใน ใกล้กับประตูสนามราชกิจ ซึ่งเป็นที่ประทับของ พระนางเธอ พระองค์เจ้ารำเพยภมราภิรมย์ พระราชเทวีในรัชกาลที่ ๔   ( ในรัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้าฯ ให้เฉลิมพระนามพระอัฐิเป็น “ กรมสมเด็จพระเทพศิรินทรามาตย์ ” ในตำแหน่งสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง และในรัชกาลที่ ๖ โปรดเกล้าฯ ให้เฉลิมพระนามเป็น “ สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี ”) ต่อมาเมื่อจะสร้างหมู่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาทขึ้น จึงโปรดเกล้าฯ ให้รื้อพระที่นั่งสีตลาภิรมย์ไปปลูกถวายเป็นตำหนักเจ้าอาวาส ณ วัดราชบพิธ    อยู่บริเวณด้านหลังตำหนักอรุณ     “... พระตำหนักเดิมอันเป็นสถานที่พระบรมราชสมภพ และที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จประทับอยู่ฝ่ายใน อยู่ตรงที่สร้างพระที่นั่งมูลสถานบรมอาสน์ พระที่นั่งสมมติเทวราชอุปบัติและท้องพระโรงกลางข้างหลังพระที่นั่งจักรีมหาปราสาททุกวันนี้ พระตำหนักนั้นเรียกกันว่า “ ตำหนักตึก ” เดิมพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให

สถานที่ประดิษฐานพระบรมศพและพระศพเจ้านาย ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์

รูปภาพ
พระบรมศพพระมหากษัตริย์              ตามโบราณราชประเพณีเมื่อพระมหากษัตริย์แห่งพระราชวงศ์จักรีเสด็จสวรรคตจะอัญเชิญพระบรมศพขึ้นประดิษฐานบนพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง นับตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเป็นต้นมา จนถึงพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รวมทั้งสิ้น ๘ พระองค์ เว้นเฉพาะพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ เพียงพระองค์เดียวที่เสด็จสวรรคต ณ ประเทศอังกฤษ ขณะทรงสละราชสมบัติและดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมราชปิตุลา เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงประชาธิปกศักดิเดชน์   จึงได้ถวายพระเพลิงพระบรมศพ ณ ประเทศอังกฤษ แล้วอัญเชิญพระบรมอัฐิกลับมาบำเพ็ญพระราชกุศลในประเทศไทยภายหลัง           อย่างไรก็ตาม ในรัชกาลที่ ๕ เคยมีพระราชกระแสรับสั่งว่า หากพระองค์เสด็จสวรรคตให้ประดิษฐานพระบรมศพของพระองค์ไว้ ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม ที่สร้างขึ้นใหม่ในพระราชวังดุสิต เพื่อที่ “จะได้ไม่กีดลูกในพระมหาปราสาท” แต่การณ์มิได้เป็นไปตามพระราชประสงค์ เมื่อเสด็จสวรรคตก่อนที่พระที่นั่งอนันตสมาคมจะสร้างแล้วเสร็จ พระบรมศพสมเด็จพระบรมราชชนนี           ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ สมเ

พระบรมศพและพระศพเจ้านายซึ่งเคยประดิษฐานบนพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมหาราชวัง

รูปภาพ
พระมหาปราสาทแห่งเกียรติยศ         “...ครั้น ณ วันอาทิตย์ ขึ้นค่ำหนึ่ง เดือนเจ็ด เวลาบ่ายสามโมงหกบาท ฝนตกอสนีบาตลงต้องหน้าบันมุขเด็จพระที่อมรินทราภิเศกมหาปราสาท ติดเป็นเพลิงโพลงขึ้นไหม้เครื่องบนพระมหาปราสาท กับทั้งหลังคามุขทั้งสี่ทำลายลงสิ้นแล้ว เพลิงลามไปติดไหม้พระปรัศซ้ายด้วยอีกหลังหนึ่งฯ ขณะเมื่อเพลิงฟ้าแรกติดพระมหาปราสาทนั้น  สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกรมพระราชวังบวรสถานมงคล แลพระราชวงษานุวงษทั้งปวง กับข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อยทั้งปวง แลพระราชาคณะถานานุกรมทุกๆ พระอารามหลวง ก็เข้ามาในพระบรมมหาราชวังช่วยดับเพลิงพร้อมทั้งสิ้นฯ...” (พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ ฉบับโรงเรียนสวนกุหลาบ : เจ้าพระยา ทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค))           พุทธศักราช ๒๓๓๒ ภายหลังจากเกิดเหตุเพลิงไหม้พระที่นั่งอมรินทราภิเษกมหาปราสาท พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยารัตนาพิพิธ สมุหนายก รื้อพระมหาปราสาทองค์เดิมลง แล้วสร้างองค์ใหม่ขึ้นทดแทน พระราชทานนามว่า “พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท” เป็นปราสาทอย่างไทยทรงจัตุรมุข มีความสูงใหญ่เท่ากับพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ ในพระราชวังหลวงกรุงศรีอยุ